ส่องเทรนด์โลก Global Ageing 2017  สูงวัย เรื่องใกล้ตัว ตอนทีี่ 1

  • โดย panamanee@gmail.com
  • 13 พ.ย., 2560
สาระความรู้ผู้งสูงอายุและผู้สูงวัย
ส่องเทรนด์โลก Global Ageing 2017  สูงวัย เรื่องใกล้ตัว ตอนที่ 1 สาระความรู้เพื่อการดูแลผู้สงอายุ  เพื่อความใจผู้สูงวัยในบ้าน

ความสูงวัย ไม่ใช่เรื่องไกลตัว

ตั้งแต่มีโครงการ Active Ageing ที่จัดตั้งขึ้นโดย WHO เมื่อ ปี 2002 (พ.ศ. 2545) เนื่องด้วยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร ที่มีอัตราการเพิ่มน้อยลง และ ทรงตัวในบางประเทศ ส่งผลกระทบไปถึงระดับมหภาค ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และ สังคม จวบจนกระทั่งปัจจุบัน หลาย ๆ ฝ่ายในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือ เอกชน ต่างก็เข้ามามีบทบาทสำคัญ ริเริ่มโครงการต่าง ๆ เพื่อปลุกเร้าให้ผู้สูงอายุ ตลอดไปจนถึง วัยทำงาน ได้ตระหนัก และ รับมือสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพในอนาคต เพื่อประโยชน์ตนเอง และ ต่อสังคม

Illus by Pixabay.com/BESNOPILE
ข้อมูลด้านประชากรผู้สูงวัย ในประเทศไทยและเพื่อนบ้าน การเติบโตของอัตราผู้สูงวัย

มาทำความเข้าใจประเภทของยุค(วัย)ทองนี้กัน

ขออธิบายประเภทของยุคเอจจิ้งนี้ พอสังเขป

Aged Society  [ 60+ > 20%, 65+ > 15% ]

l  ยุคที่ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% และ อายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่า 15% ของจำนวนประชากรทั้งหมด l


องค์การสหประชาชาติ ( UN ) ได้เปิดเผยข้อมูลเกียวกับจำนวนผู้สูงอายุโลก ในปี 2017 (พ.ศ. 2560) นี้ว่า ขณะนี้ มีประชากรอายุมากกว่า 60 ปี โดยประมาณ 962 ล้านคน คิดเป็นจำนวน 13% ของประชากรทั่วโลก โดยอัตราการเติบโตของผู้สูงอายุโลก คิดเป็นร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 8.5 ตั้งแต่ปี 1980 (พ.ศ. 2523) เป็นร้อยละ 12.3 ในปี 2015 (พ.ศ. 2558) และ ในอนาคต มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 21.5 หรือ คิดเป็นจำนวนประชากรผู้สูงอายุถึง 2.1 ล้านล้าน ในปี 2050 (พ.ศ. 2593)



  • Super Aged Society  [ 65+ > 20% ]

l ยุคที่ผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่า 20 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด l


เนื่องด้วยจำนวนประชากรผู้สูงอายุโลกมีการเพิ่มตามลำดับสอดคล้องกับการเดินหน้าของเวลา ส่งผลให้ในอนาคตข้างหน้าจากเดิมของยุค Aged Society  ได้แปรเป็น Super Aged Society ได้ในที่สุด หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรในด้านบวกแล้ว อัตราส่วนของวัย Super Aged ท่ามกลางจำนวนประชากรผู้สูงอายุด้วยกัน ก็เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ

ในปี 2015 (พ.ศ. 2558) มีจำนวนประชากรโลกที่มีอายุ 80 ปี คิดเป็นร้อยละ 14 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 21 ในปี 2050 (พ.ศ. 2593) หรือคิดเป็นจำนวนประชากรผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เป็นจำนวน 434 ล้านคน



ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน มีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งหมด กล่าวคือ มีผู้สูงอายุชาวไทย 10.7 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 17 ล้านคน ภายในปี 2583 ซึ่งมากกว่า 1 ใน 4 ของประชากร ซึ่งในภาคอาเซียน ประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงอายุแล้ว ได้แก่ สิงคโปร์, เวียดนาม และ ไทย ทั้งนี้การคาดการณ์ สังคมสูงวัยในบ้านเราจะเตรียมจ่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2568 หรือเร็วกว่านั้น คือปี พ.ศ. 2564


อัพเดท ความคืบหน้า Global Trend สังคมสูงวัยทั่วโลก ในปี 2017 ที่น่าสนใจ


รู้จักกับวันแห่งผู้สูงอายุโลก 1 ตุลาคม โดย Global Ageing Network
(#UNDOP Card Credited by: http://globalageing.org)


#01 วันแห่งผู้สูงอายุโลก มีทุกวันที่ 1 ตุลาคม

วันผู้สูงอายุโลก ของปีนี้ เฉลิมฉลองกันด้วยธีม “Stepping into the Future: Tapping the Talents, Contributions and Participation of Older Persons in Society.”ซึ่งก็คือว่าด้วยธีม “ก้าวเข้าสู่อนาคต” โดยเนื้อหาของธีมว่าด้วยเรื่อง : เคาะความสามารถ, การถ่ายทอด และ การเข้าร่วมของผู้สูงวัยในสังคม ลองเข้าไปดูภาพกิจกรรมวันแห่งผู้สูงอายุโลกของประเทศต่าง ๆ กันได้ที่แฮชแท็กนี้กันเลย  #UNIDOPหรือใครที่อยากติดตามชมความเคลื่อนไหววันผู้สูงอายุแบบทั่วโลกกันอีกทีปีหน้า ก็เข้าไปแวะชมกันได้ที่เว็บไซต์ globalageing.org จ่ะ


เรื่องของผู้งสูงวัยและอัลไซเมอร์ เรียนรู้กับอัลไซเมอร์ ภัย อาการที่เกิดขึ้น ส่องเทรนด์โลก
Illus by Pexels.com/PIXABAY

#02 สูงวัย ระวังภัยจาก “อัลไซเมอร์”

โรคอัลไซเมอร์ สาเหตุหลักของอาการสมองเสื่อม เป็นโรคที่คนสูงวัยเป็นกันมาก และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ เสียด้วย ล่าสุดบทความจาก Alzheimer’s is fast becoming the pandemic of our 21st century เผยแพร่โดย Michael Hodin ใน The Fiscal Times เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2016 (พ.ศ.2559) ได้ให้ข้อมูลถึงผลการวิจัยเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์นี้ว่า “ โรคสมองเสื่อม เกิดขึ้นในประชากรโลกกว่า 50 ล้านคน ( โดยประมาณ )


ทั้งนี้, กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เคยให้ข้อมูลไว้ในปี 2015 (พ.ศ.2558) ว่า มีผู้สูงอายุไทย ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 600,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 1.1 ล้านคน ในปี 2573 ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของ UN ต่อจำนวนผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ในผู้สูงอายุ ว่า  “ มีแนวโน้มว่าในปี 2030 (พ.ศ. 2573) - จำนวนประชากรโลก ที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ จะมีเพิ่มขึ้นถึง 75 ล้านคน ”


โรคอัลไซเมอร์กับผู้สูงอายุและผู้สูงวัย ความบกพร่องที่ขึ้นต่อร่างกาย การใช้ชีวิต ครอบครัว บ้าน

รู้จัก ก่อนรับมือ “โรคอัลไซเมอร์”

โรคอัลไซเมอร์ พบในผู้ป่วยวัย 65 ปีขึ้นไป มีสาเหตุจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท, อายุ และ พันธุกรรม ที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แต่มีพัฒนาการที่ต่อเนื่อง และมีอาการแตกต่างกันโดยบุคคล โดยมีความบกพร่องใน 4 ด้าน หลัก ๆ คือ

บกพร่องทางด้านความจำ

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ไม่สามารถจำอะไรได้นาน จะจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้เพียง 20 - 30 วิฯ เท่านั้น  สังเกตุได้จากอาการหลง ๆ ลืม ๆ เช่น

  • ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน ลืมว่าเมื่อสักครู่นี้ กำลังทำอะไรอยู่ เช่น เพิ่งรับประทานข้าวเสร็จ ก็มารับประทานอีก

  • นึกเรื่องที่จะพูดไม่ออก

  • ฯลฯ

บกพร่องทางด้านภาษา

ไม่สามารถจำชื่อเรียกของคน, สัตว์ หรือ สิ่งของต่าง ๆ ได้  มีอาการสับสน ไม่สามารถเรียบเรียงเวลา หรือ นึกถึงสถานที่ได้ รวมถึงความสามารถในการใช้เหตุผล

บกพร่องทางด้านบุคลิกภาพ และ ความเปลี่ยนแปลง

ชอบทำสิ่งนั้นวนไป เช่น ถามคำถามเดิมซ้ำ ๆ, พูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ, เล่าเรื่องเดิม ตลอด ๆ บางราย ไม่สามารถขับถ่ายให้ถูกสถานที่ได้ ซึ่งผู้ดูแลต้องใช้ความสามารถในการหาวิธีการแก้ไข ให้เหมาะกับลักษณะนิสัยของผู้ป่วย

บกพร่องทางด้านการใช้ชีวิตประจำวันด้วยตนเอง

โดยพื้นฐาน ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่อยู่ในขั้นแอดวานซ์ ไม่สามารถทำกิจกรรมง่าย ๆ อย่างเช่น การรับประทานอาหาร คือไม่สามารถ เคี้ยว หรือ กลืน อาหารเองได้, ขับถ่ายเองไม่ได้ รวมถึงการทำความสะอาดร่างกายเองไม่ได้


9 วิธีช่วยป้องกันเพื่อให้ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์ ก่อนเข้าสูงวัยชรา หรือผู้สูงอายุ

วิธีหลีกเลี่ยง “โรคอัลไซเมอร์”

ป้องกันไว้ ง่ายกว่าแก้

  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

เนื่องจาก แอลกอฮอล์มีฤทธิ์ต่อการทำลายเซลล์ประสาท และ สมอง


  • หัวเราะบ้าง

ความเครียด เป็นผลให้เกิดการเพิ่มจำนวนของโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่า Beta-Amyloids ( เบท้ะ-แอมีลอยด์ ) ซึ่งเป็นกรดอะมิโน ที่ไม่จำเป็นสำหรับสมองเราเลย เพราะโปรตีนชนิดนี้ เป็นตัวการที่ลดประสิทธิภาพการทำงานของสมอง โดยเฉพาะด้านความจำ พบได้ในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และ ผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อม


ในส่วนของระบบประสาทและสมองของแต่ละคนนั้น มีการตอบสนองต่อฮอร์โมนความเครียดไม่เท่ากัน ดังนั้นคนที่เมื่อเกิดอาการเครียด แล้วส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วย เช่น เครียดแล้วปวดท้อง กระเพาะอาหารทำงานได้ไม่ดี หรือที่เรียกว่า “เครียดลงกระเพาะ”; บางคนเมื่อเครียดแล้ว มีอาการปวดกล้ามเนื้อ เช่นต้นคอ, ปวดหัว, ปวดหลัง, บ่าหรือไหล่ เป็นต้น หากเรารับรู้ได้ว่า ชั่วขณะนั้น มีความเครียดเกิดขึ้นกับคุณเอง ให้รีบละทิ้งอารมณ์นั้น หรือ หาสิ่งบันเทิงเพื่อคลายความรู้สึกในชั่วขณะนั้นก่อน เพื่อไม่ให้ฮอร์โมนความเครียดเกิดขึ้นมากเกินไป และ ส่งผลให้เกิดการสร้างจำนวนแอมิลอยด์นี้กับเราได้ มองโลกในแง่ดี แล้วเป็นคนที่หัวเราะได้ง่าย ๆ ก็จะทำให้คุณมีความสุขได้มากขึ้นเลยล่ะ เชื่อสิ!


  • นอนหลับให้เพียงพอ

เซลล์ร่างกายของเรา มีอายุไข เซลล์สมองก็เช่นกัน แม้งานจะหนัก หรือ จะติดโซเชียลแค่ไหน ถึงเราจะรู้สึกว่าร่างกายยังไม่เหนื่อย แต่สมองเราก็ต้องการพักผ่อนอย่างเต็มที่นะ  ดังนั้น ห้ามอดนอนเด็ดขาด และควรนอนหลับให้เต็มอิ่ม


  • ฝึกสมาธิเป็นประจำ

การฝึกให้จิตอยู่กับกาย หรือ การมีสมาธิให้จิตรู้ว่าปัจจุบันเรากำลังทำอะไรอยู่ ช่วยให้สมองเกิดการรับรู้ ให้เรามีสติอยู่เสมอ


  • จดบันทึก

ฝึกจดบันทึกสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน  เช่น ตารางงานที่ต้องทำในแต่ละวัน จะช่วยให้เราไม่ลืมว่าแต่ละวันต้องทำอะไรบ้าง อีกทั้งยังช่วยไม่ให้ทำงานพลาดอีกด้วย เป็นการฝึกให้สมองตื่นตัวตลอดเวลา


  • บริหารสมองด้วยเกม

ใครที่ชอบเล่นเกมฝึกสมอง เช่น ปริศนาอักษรไขว้, ซูโดกุ หรือ เกมปริศนาต่าง ๆ ที่ต้องใช้ทักษะในการคิดเลข; หาเหตุผล; หาความแตกต่าง; ฯลฯ นอกจากจะสนุกแล้ว ยังเป็นการฝึกให้กล้ามเนื้อสมองทำงานได้อย่างดีด้วยนะ  แต่ถ้าเล่นมากไป คิดไม่ออกแล้วเครียด ก็ต้องหยุดพักก่อนล่ะ 😅 ส่วนคนที่ไม่ชอบเล่นเกม ลองฝึกตั้งโจทย์คิดเลขในใจ ก็จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองได้เช่นกัน


  • หากิจกรรมผ่อนคลาย

ไม่มีที่ใดสุขใจเท่าบ้านเรา คำพูดนี้คลาสสิคเสมอเลยล่ะ หากิจกรรม หรือ การพักผ่อนสบาย ๆ อยู่บ้านเนี่ยแหล่ะ ดีที่สุด! เวลาที่คุณเหน็ดเหนื่อย ส่วนคุณไม่อยากออกไปไหนหรอก จริงมั้ย!? แต่จะให้พักผ่อนเฉย ๆ ก็เบื่ออีกแหล่ะ ง่าย ๆ เลย อ่านหนังสือสิ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรุ้ หรือ ผ่อนคลายสมอง ก็ล้วนส่งผลดีต่อสมองในการทำงาน ด้านเหตุผล, ความคิด, จินตนาการ และ ความจำได้เป็นอย่างดี


การแช่น้ำร้อนในช่วงเวลาเย็น จะทำให้คืนนั้นของคุณจะหลับได้ลึก ช่วยให้ร่างกาย และ สมองพักผ่อนได้เต็มที่ และรู้สึกสดชื่นในเช้าวันใหม่ ต่างจากวันเดิม ๆ ที่ทิ้งตัวลงนอนจากวันที่เหนื่อยล้า และ ตื่นขึ้นมาพร้อมกับความโทรมของร่างกายและจิตใจอย่างสิ้นเชิง


  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายช่วยให้เกิดการเปลี่ยนถ่ายออกซิเจนในร่างกาย และ การหมุนเวียนเลือดที่ดี เป็นการชะลอ และ ส่งเสริมให้เซลล์ประสาทและสมองแข็งแรง และ ช่วยให้รู้สึกกระฉับกระเฉง หุ่นดี ไม่มีโรค


  • ตรวจเช็คสุขภาพประจำปี

ตรวจวัดความดันเลือด ระดับน้ำตาลและไขมันในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยต่อการเกิดโรคทางระบบประสาท และ สมองได้


ติดตามอ่านสาระความรู้ ส่องเทรนด์โลก Global Ageing 2017  สูงวัย เรื่องใกล้ตัว ตอนที่ 2 ในบทความถัดไป 
(
อ้างอิงเนื้อหาอยู่ท้ายบทความในตอนที่ 2)
Q&G limited Partnership
ผู้จำหน่ายอ่างน้ำร้อน OUTDOOR
www.QandGTub.com
โดย Q&G 23 เมษายน 2567
  ในบทความนี้ทางคิวแอนด์จี จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอ่างน้ำร้อน ( Hot Tub ) ที่นอกจากจะให้ประโยชน์ด้านความเป็นส่วนตัวได้หลากหลายแง่มุมแล้ว สามารถเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งสำหรับการพักผ่อนบริเวณภายนอกบ้าน สามารถยกระดับในด้านความความสุขความผ่อนคลาย จากคุณสมับติการทำงานของอ่างน้ำร้อน รวมไปถึงเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมให้ได้ใช้เวลาร่วมกับสมาชิกภายในครอบครัว  ซึ่งอ่างน้ำร้อนยังสามารถให้ประโยชน์ในเชิงสุขภาพและการบำบัดปัญหาต่าง ๆ ด้านร่างกายได้อีกด้วย
 
  การลงแช่ตัวในอ่างน้ำร้อน สามารถสร้างคุณประโยชน์ต่อด้านร่างกายได้หลากหลาย โดยการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟู การบำบัด การบรรเทาอาการเจ็บปวด และ ปัญหาด้านสุขภาพได้ตามศาสตร์ของธาราบำบัด การแช่ตัวในอ่างน้ำร้อน สามารถส่งผลให้เกิดประโยชน์ด้านสุขภาพ ได้จาก 3 ปัจจัยหลัก ดังต่อไปนี้

  1. ระบบนวดเจ็ท ( Hydrotherapy Jets Massage )
  2. อุณหภูมิของน้ำอุ่น ( Warm Water ) อุณหภูมิความร้อน 35 - 40 องศาเซลเซียส
  3. คุณประโยชน์จากแรงพยุงตัวของน้ำ ( Buoyancy )
โดย Q&G 19 เมษายน 2567
  ในบทความนี้ทางคิวแอนด์จี จะนำเสนอแง่มุมข้อดีของการเป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อน เพื่ออธิบายเพิ่มเติม ถึงความจำเป็นของประเภทสินค้า ที่กำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบให้กับบ้าน สำหรับผู้คนจากหลากหลายประเทศทั่วโลก โดยมีการตอบรับที่สะท้อนให้เห็นถึงกระแสความต้องการ จนทำให้อุตสาหกรรมการผลิตอ่างน้ำร้อนเติบโตในวงกว้าง ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์โดยตรงเฉพาะส่วนบุคคลแล้ว ยังสามารถให้ผลดีต่อเนื่องแก่สังคมครอบครัว เครือข่ายความสัมพันธ์ของผู้คนใกล้ตัวได้อีกด้วย
โดย Q&G 8 เมษายน 2567

  ในบทความนี้ทางคิวแอนด์จี จะมานำเสนอแง่มุมคุณประโยชน์ของการเป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อน เพื่อใช้สำหรับการแช่น้ำอุ่นบริเวณพื้นที่ภายนอกบ้าน ที่จะส่งผลให้ข้อดีต่อความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ( Privacy ) เพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิต การเพิ่มระดับคุณภาพชีวิต การให้คุณค่าของความสุขอันพิเศษเฉพาะตน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ที่บ้าน อันเป็นสถานที่ให้ความรู้สึกสบายใจได้ทุก ๆ วัน


เพื่อความผ่อนคลาย แบบส่วนตัว


  คุณประโยชน์ของการเป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อนภายนอกบ้าน คือ การสร้างพื้นที่ในการพักผ่อนแบบส่วนตัว โดยลูกค้าสามารถผ่อนคลายไปกับการแช่น้ำที่บ้าน โดยไม่ต้องพบปะคลุกคลีกับบุคคลอื่นที่เราไม่ได้รู้จัก การผ่อนคลายในสถานที่ส่วนตัว เป็น  ความสุข ด้วยการหลีกออกจากสังคมภายนอก ต่างไปจากการใช้บริการในสถานดูแลสุขภาพ เช่น ส่วนกลางสปาของโรงแรม รีสอร์ท บ่อน้ำอุ่นแบบรวม ศูนย์ธาราบำบัด บ่อน้ำแร่ออนเซ็น เป็นต้น


Show More